บราซิล ประเทศที่มีพร้อมทุกอย่าง แต่ยังไปไม่ถึงจุดหมาย / โดย ลงทุนแมน
ประเทศที่เป็นแชมป์ฟุตบอลโลก 5 สมัย มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก
และมีประชากร 220 ล้านคน มากเป็นอันดับ 5 ของโลก เช่นกัน..
ด้วยพื้นที่ 8.5 ล้านตารางกิโลเมตร เกือบเท่าประเทศจีน
บราซิลจึงมีเขตเกษตรกรรมกว้างใหญ่ไพศาล ที่ให้ผลผลิตทั้งถั่วเหลือง กาแฟ และอ้อย
ซึ่งบราซิลล้วนส่งออกผลิตผลเหล่านี้เป็นอันดับ 1 ของโลก
บราซิลยังมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย
ทั้งเหล็ก ทองแดง น้ำมัน และป่าไม้ แม่น้ำสายใหญ่ที่มีปริมาณน้ำมหาศาลก็สามารถนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรมในราคาถูก
จากทั้งหมดที่กล่าวมา ดูเหมือนว่า ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่บราซิลจะก้าวขึ้นเป็นประเทศรายได้สูง และถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
เมื่อปี 2011 ชาวบราซิลมี GDP ต่อหัวเป็น 2.4 เท่า ของคนไทย
คนบราซิล มี GDP ต่อหัว 397,400 บาท
ในขณะที่ชาวไทยมี GDP ต่อหัวเพียง 164,800 บาท
แต่เรื่องราวกลับไม่เป็นเช่นนั้น หลังจากปี 2011 GDP ต่อหัวของบราซิลก็ไปไม่ถึงจุดนั้นอีกเลย
แล้วยังลดลงเรื่อย ๆ จากวิกฤติเงินเฟ้อ และถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤติการระบาดของโควิด 19 อย่างหนักหน่วงในปี 2020
ปี 2020 IMF คาดการณ์ว่า GDP ต่อหัวของชาวบราซิลจะเหลือเพียง 193,500 บาท
ซึ่งน้อยกว่าชาวไทยที่คาดว่าจะมี GDP ต่อหัว 218,900 บาทไปแล้ว..
อย่างไรก็ตาม วิกฤติครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของบราซิล
เพราะประเทศนี้ผ่านวิกฤติใหญ่ ๆ มาถึง 3 ครั้ง
เส้นทางของบราซิลเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เพื่อทำความเข้าใจเรื่องราวทั้งหมด บทความนี้จะขอเริ่มเล่าเรื่องราวนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของประเทศบราซิล..
จักรวรรดิบราซิลก่อตั้งในปี ค.ศ. 1822 โดยจักรพรรดิเปดรูที่ 1 เจ้าชายโปรตุเกสที่หนีการยึดครองของจักรพรรดินโปเลียนในยุโรปมาตั้งอาณาจักรใหม่ที่อาณานิคมบราซิล
และแยกขาดจากโปรตุเกสอย่างสมบูรณ์
ด้วยภูมิประเทศทางตอนใต้ของบราซิลที่เป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ และภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการปลูกกาแฟ เศรษฐกิจของบราซิลจึงรุ่งเรืองมาจากการเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่สำคัญของโลก โดยลูกค้าส่วนใหญ่คือประเทศในยุโรปตะวันตก
เมื่อบราซิลเปลี่ยนการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐ ในปี ค.ศ. 1889
การขยายพื้นที่ปลูกกาแฟอย่างมหาศาลทางตอนใต้ก็ดึงดูดแรงงานทั้งชาวอิตาลีและชาวญี่ปุ่น ให้มาตั้งรกรากนับล้านคน โดยในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 บราซิลส่งออกกาแฟคิดเป็นสัดส่วน 76% ของโลก
ไม่ใช่เพียงผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ บราซิลยังส่งออกทั้งยางพารา น้ำตาล และถั่วเหลือง อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ความมั่งคั่งนี้กระจุกอยู่กับชนชั้นนำเจ้าของไร่ ซึ่งล้วนเป็นลูกหลานของคนผิวขาวชาวโปรตุเกส ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้อพยพล้วนมีฐานะยากจน
ซึ่งความเหลื่อมล้ำนี้ ก็ยังกลายเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน
แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าความเหลื่อมล้ำ
คือในระหว่างที่ประเทศในยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกาเริ่มปฏิวัติอุตสาหกรรม เหล่าชนชั้นนำบราซิลซึ่งมีฐานะร่ำรวยเหล่านี้ กลับเลือกที่จะนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม แทนที่จะนำเงินมาลงทุนสร้างโรงงานเอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมในบราซิลพัฒนาช้ากว่าของยุโรป
แล้ววิกฤติครั้งแรกก็เริ่มขึ้น..
หลังจากสินค้าเกษตรอย่างเช่น กาแฟ นำความมั่งคั่งมาให้บราซิลเรื่อยมา
แต่เมื่อถึงช่วงทศวรรษ 1930s ซึ่งเป็นยุคหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ความต้องการกาแฟในยุโรปก็ลดลงมาก กระทบต่อการส่งออกกาแฟของบราซิลอย่างหนัก
ความวุ่นวายทางเศรษฐกิจ ทำให้ฝ่ายทหารเข้ามายึดอำนาจในปี ค.ศ. 1930
และปกครองประเทศยาวนาน 16 ปี
บราซิลประสบปัญหาขาดแคลนสินค้าอุตสาหกรรมที่ต้องนำเข้าจากยุโรป
จึงเริ่มนโยบายตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อผลิตทดแทนการนำเข้า
โดยเริ่มจากอุตสาหกรรมอาหารและสิ่งทอ โดยรัฐบาลพยายามลงทุนเองพร้อมกับกระตุ้นการบริโภคอย่างเต็มที่
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1946 บราซิลมีการเลือกตั้งรัฐบาลพลเรือนอีกครั้ง
เศรษฐกิจที่เคยย่ำแย่ เริ่มกลับมาดีขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญ ก็คือ ประเทศยุโรปที่ฟื้นตัวหลังสงคราม เริ่มทำให้มีความต้องการสินค้าเกษตรและแร่ธาตุจากบราซิลมากขึ้น
เศรษฐกิจของบราซิลเติบโตอย่างสดใส เมื่อประชาชนมีรายได้มากขึ้น ก็เป็นช่วงเติบโตของวงการลูกหนังบราซิล และเป็นช่วงเวลาแจ้งเกิดของนักฟุตบอลระดับตำนานของบราซิล คือ เปเล่
ที่พาทีมชาติบราซิลครองแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1958
ท่ามกลางความสดใส แต่ปัญหาที่รัฐบาลทิ้งเอาไว้ คือ การอุ้มภาคอุตสาหกรรมที่ทดแทนการนำเข้า
นโยบายเช่นนี้เหมือนจะได้ผลดีในช่วงแรก ๆ แต่การพัฒนาที่ล่าช้าของภาครัฐ
กลับทำให้โรงงานเหล่านี้ไม่สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว หลายอุตสาหกรรมล้วนมีเทคโนโลยีที่ล้าหลัง และบุคลากรที่มากเกินความจำเป็น
ท้ายที่สุด การอุ้มภาคอุตสาหกรรมก็ต้องแลกมาด้วยภาระหนี้ก้อนโต
เมื่อรัฐบาลหมดหนทางที่จะหาเงิน สุดท้ายก็หันไปพึ่ง IMF
บราซิลเป็นหนึ่งในประเทศที่กู้ยืมเงินจาก IMF มากที่สุดในโลก
การเป็นหนี้ IMF แลกมาด้วยนโยบายรัดเข็มขัดทางเศรษฐกิจจนทำให้เกิดความวุ่นวาย
แล้วฝ่ายทหารก็เข้ามายึดอำนาจอีกครั้งในช่วงปี ค.ศ. 1964 - ค.ศ. 1985
แล้วก็เหมือนเดิม.. รัฐบาลทหารพยายามลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน กระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน
และควบคุมค่าจ้างแรงงาน มาตรการเหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจบราซิลขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
แต่แฝงไปด้วยปัญหาเชิงโครงสร้าง อย่างเช่น การกระจายรายได้ย่ำแย่ลง และค่าแรงที่ถูกควบคุมให้คงที่ ในขณะที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ ความเหลื่อมล้ำที่สั่งสมมายาวนาน
ทำให้บราซิลกลายเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของอเมริกาใต้..
โชคร้ายที่บราซิลในช่วงเวลานั้นยังไม่ค้นพบแหล่งน้ำมัน และเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่
เมื่อมีการขึ้นราคาน้ำมันครั้งใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1970s ประกอบกับผลผลิตกาแฟลดลงจากสภาพอากาศหนาวจัด ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก รัฐบาลจึงต้องกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการจ้างงานเพิ่ม โดยการเพิ่มจำนวนข้าราชการและทหาร
เมื่อรัฐบาลพลเรือนปกครองประเทศอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1985
บราซิลมีกองทัพที่ใหญ่โต มีข้าราชการเกินความจำเป็นเกือบ 2 เท่า
และมีหนี้สินต่างประเทศมากที่สุดในโลก
ภาระค่าใช้จ่ายมหาศาล ทำให้รัฐบาลบราซิลขาดดุลงบประมาณอย่างหนัก และประสบปัญหาขาดสภาพคล่องในการชำระหนี้คืน จึงมีการพิมพ์เงินออกมาเพื่อแก้ปัญหานั้น
สุดท้าย ก็นำมาสู่ภาวะเงินเฟ้ออย่างหนัก หรือ Hyperinflation
ในช่วง ทศวรรษ 1990s โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1994 ที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึง 1,000%
จนกลายเป็นวิกฤติทางการเงินครั้งใหญ่ของประเทศ เป็นครั้งที่ 2
ภาวะเงินเฟ้อสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนต่างชาติ จนเงินทุนไหลออกจากบราซิลอย่างรวดเร็ว สกุลเงิน Real ของบราซิลอ่อนค่าลงอย่างหนักและรวดเร็ว
มาถึงครั้งนี้ หลายคนอาจคิดว่า บราซิลเดินทางมาถึงหายนะแล้ว
แต่เศรษฐกิจบราซิลก็กลับมาได้อีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช่เพราะยุโรป แต่เป็น “จีน”
การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในช่วงทศวรรษ 1990s - 2000s ทำให้มีความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์มหาศาล เนื่องจากบราซิลเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ ทั้งแร่ธาตุอย่างเหล็ก ทองแดง ไปจนถึงสินค้าเกษตรอย่าง น้ำตาล ข้าวโพด และกาแฟ
การเติบโตของเศรษฐกิจจีน มาพร้อมกับความต้องการสินค้าจากบราซิลที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก
จนผลักดันให้เศรษฐกิจของบราซิลเติบโตเป็นจรวด
รัฐบาลบราซิลพยายามปฏิรูปการเงิน ปรับเปลี่ยนนโยบายอุตสาหกรรมมุ่งเน้นการส่งออกมากขึ้น จน GDP ของบราซิลเติบโตจนอยู่อันดับ 7 ของโลกในปี 2010
และอยู่ในกลุ่ม 4 ประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพสูง หรือ BRIC
ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน
เมื่อผู้คนมีรายได้มากขึ้น วงการฟุตบอลของบราซิลก็กลับมาโดดเด่นอีกครั้ง
บราซิลได้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมฟุตบอลโลกในปี 2014
และมหกรรมโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรกของทวีปอเมริกาใต้ในปี 2016
ทุกอย่างเหมือนจะไปได้ดี แต่เมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงอย่างมากจากความต้องการของจีนเริ่มอิ่มตัวและลดลง บราซิลซึ่งส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์มากกว่า 60% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
และพึ่งพาจีนถึง 1 ใน 3 ของการส่งออก ก็ต้องประสบกับวิกฤติอีกครั้ง
เมื่อรวมกับการคอร์รัปชันซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมบราซิลมานาน
และการใช้เงินเกินตัวกับการเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬา ไปจนถึงการทุจริตของรัฐบาลในรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องตัดลดงบประมาณสวัสดิการ และทำการปรับขึ้นภาษี
ซึ่งทำให้ประชาชนไม่พอใจจนออกมาประท้วงเป็นจำนวนมาก
ในปี 2020 เศรษฐกิจบราซิลที่เปราะบางอยู่แล้ว ถูกซ้ำเติมด้วยการระบาดของโควิด 19
ความเหลื่อมล้ำที่มีมากในสังคมบราซิล ทำให้คนยากจนจำนวนมากที่ป่วยด้วยโรคนี้
ไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ดี บราซิลมีผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 เกือบ 280,000 คน
ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก
การระบาดซ้ำเติมกิจกรรมทางเศรษฐกิจของบราซิลอย่างหนัก
จนปี 2020 GDP ของบราซิลหดตัวรุนแรงมากที่สุดในรอบ 120 ปี นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20
ไม่มีใครรู้ได้ว่า ท้ายที่สุดแล้ว เศรษฐกิจของประเทศที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้จะเป็นอย่างไร
จะตามรอยเพื่อนบ้านอย่างเวเนซุเอลา และอาร์เจนตินาหรือไม่ ?
เรื่องราวอันยาวนานของเศรษฐกิจบราซิลเป็นบทเรียนที่น่าสนใจ
ตราบใดที่ประเทศยังเน้นการพึ่งพาสินค้าโภคภัณฑ์ จนละเลยการพัฒนาอุตสาหกรรม
มีการคอร์รัปชัน และการใช้เงินเกินตัวของภาครัฐ
ต่อให้ประเทศจะมีพร้อมทุกอย่าง มีทรัพยากรมหาศาลมากแค่ไหน
สุดท้าย ความได้เปรียบเหล่านั้น มันก็อาจไม่ช่วยอะไรเลย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=BR-TH
-https://www.imf.org/en/Publications/WEO/weo-database/2020/October/weo-report
-https://ditp.go.th/contents_attach/81555/81555.pdf
-http://www.econ.puc-rio.br/uploads/adm/trabalhos/files/td492.pdf
-https://www.globaltimes.cn/content/858786.shtml
-http://www.worldstopexports.com/brazils-top-10-exports/
-https://www.worldbank.org/en/country/brazil/overview
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「real gdp คือ」的推薦目錄:
- 關於real gdp คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於real gdp คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於real gdp คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於real gdp คือ 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
- 關於real gdp คือ 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於real gdp คือ 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於real gdp คือ 在 7.4 EC210 (Online class) Real vs Nominal GDP ... - YouTube 的評價
- 關於real gdp คือ 在 ฟังข่าวเศรษฐกิจทีไร ได้ยินมันทุกที มันคืออะไร ? มาทำความเข้าใจ ... 的評價
real gdp คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
สรุปทิศทาง เศรษฐกิจปี 2021 ฉบับสมบูรณ์
ลงทุนแมน X KRUNGSRI EXCLUSIVE
2021 อีกปีที่ท้าทายกับสถานการณ์เศรษฐกิจภายใต้วิกฤติโควิด 19 ไม่แพ้ตอนวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 1997 และ วิกฤติซับไพรม์ในปี 2008 ที่ทำให้นักธุรกิจ และนักลงทุนหลายๆ คนเจ็บหนัก
แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีบางคน ที่เห็นโอกาสในวิกฤติ จนสร้างการเติบโต หรือ ผลกำไรได้อย่างงดงาม
KRUNGSRI EXCLUSIVE บริการการให้คำปรึกษาทางเงิน สำหรับผู้ที่มีเงินฝากเงินลงทุน 5 ล้านบาทขึ้นไปกับธนาคารกรุงศรี จึงจัดสัมมนาพิเศษแบบ new normal ให้ลูกค้าคนสำคัญเข้าร่วมงานผ่านทางออนไลน์ “KRUNGSRI EXCLUSIVE Economic and Investment Outlook 2021” โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในและต่างประเทศมาวิเคราะห์ข้อมูลและให้มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนทางการเงินในหลากหลายมิติ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจและวางกลยุทธ์ในปี 2021 นี้ได้
งานสัมมนาในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1) Global Economic Outlook 2021
เป็นการบรรยายภาพรวมเศรษฐกิจโลก และธีมการลงทุน
โดยคุณ Ben Powell ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนภาคเอเชียแปซิฟิก ของ BlackRock บริษัทจัดการการลงทุนที่ใหญ่สุดในโลก
2) Thailand Economic Outlook 2021
บรรยายถึงภาพรวมและทิศทางเศรษฐกิจไทย โดย
ดร. ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย
และ ดร. สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้บริหารสายงานวิจัย และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
-Global Economic Outlook 2021
คุณ Ben Powell มองว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จากวิกฤติโควิด 19 จะเหมือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมรุนแรง มากกว่าจะเป็นวิกฤติทางการเงิน
เพราะในภาพรวมเศรษฐกิจ จะฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็ว ต่างจาก วิกฤติทางการเงิน ที่สถาบันการเงินเจ็บหนัก และเศรษฐกิจอาศัยเวลาฟื้นตัวนานกว่า
ซึ่งการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง จะเป็นตัวกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
และคาดว่าเศรษฐกิจโลก จะกลับมาใกล้เคียง หรือระดับเดียวกับช่วงก่อนโควิด ในช่วงกลางปีนี้
โดยธีมการลงทุนในมุมมองของ BlackRock ในปีนี้ จะมีหลักๆ 3 อย่าง
1) The New Nominal
ตอนนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำ สอดคล้องกันทั่วโลก
และในบางประเทศมีอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบด้วยซ้ำ
ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางในประเทศต่างๆ จะยังคงกดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำอยู่ไปสักระยะ
เพื่อรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เต็มที่ก่อน
ในขณะเดียวกัน การดำเนินนโยบายการคลัง คือ รัฐบาลอัดฉีดงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ
อย่าง สหรัฐฯ ที่เพิ่งประกาศงบกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่กว่า 57 ล้านล้านบาท
ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายการเงิน จากธนาคารกลาง ที่กดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำ และเพิ่มสภาพคล่องเข้าไปในระบบ
ตามมาด้วยสัญญาณการเพิ่มขึ้น ของอัตราเงินเฟ้อ
ซึ่งจะทำให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (Real yield) ที่คำนวณจาก อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตร หักด้วย อัตราเงินเฟ้อ
ยิ่งน้อยลงไปอีก หรืออาจถึงขั้นติดลบได้
BlackRock จึงปรับนโยบายการลงทุน โดยลดสัดส่วนของตราสารหนี้ลง เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
และเพิ่มสัดส่วนในหุ้น และ ตราสารหนี้ที่ชดเชยเงินเฟ้อ (TIPS) เพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนของพอร์ตโดยรวม
โดยในตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ BlackRock มองว่าน่าลงทุนและให้สัดส่วนในพอร์ตเยอะ คือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และ สุขภาพ (Health care)
เพราะยังเป็นกลุ่มธุรกิจที่เติบโตได้ดี และอนาคตสดใสอยู่
อีกทั้งยังมองว่า ใน 6-12 เดือนนี้ นักลงทุนเต็มใจที่จะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น เพื่อแสดงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น
2) Globalization Rewired
บรรยากาศการค้าโลก มีแนวโน้มกลับมาคึกคักอีกครั้ง
หลังจากที่ โจ ไบเดน เข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำให้เกิดการเจรจา และค้าขายระหว่างประเทศราบรื่นมากขึ้น
ในขณะที่ปี 2020 ที่ผ่านมา กิจกรรมการค้าโลก ก็ฟื้นตัวเร็วกว่าที่ BlackRock คาดการณ์ไว้มาก
โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นประเทศที่น่าจับตามองมากที่สุด
เพราะควบคุมสถานการณ์โรคระบาดได้ดี และออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างโดดเด่น และคาดว่าจะกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลกในอีกไม่นาน
ซึ่ง World Bank คาดว่าในปีนี้ GDP ของจีน จะโตถึง 7.9%
ด้วยมุมมองที่สดใสของเศรษฐกิจจีน ทำให้ช่วงที่ผ่านมา มีเงินทุนไหลเข้าประเทศจีนเป็นจำนวนมาก ทั้งในรูปแบบการลงทุนโดยตรง (FDI) และตลาดหุ้น
การเข้าลงทุนในสินทรัพย์จีน จึงเป็นอีกหัวใจหลัก ของการลงทุนทั่วโลกตอนนี้
ที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
รวมถึงเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยงการลงทุน ในประเทศอื่นนอกเหนือจากสหรัฐฯ
นอกจากจีนแล้ว กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets)
ก็กลายเป็นอีกเป้าหมายการลงทุนที่น่าสนใจ เพราะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก
แต่ต้องดูเป็นรายประเทศไป ไม่ใช่ทุกประเทศจะน่าลงทุน
โดยนักลงทุนจะชอบประเทศที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง และค่าเงินมีเสถียรภาพ
เช่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ไทย และมาเลเซีย
สรุปแล้ว ทั้งสหรัฐฯ และเอเชีย จะเป็นกลุ่มประเทศที่ขับเคลื่อนตลาดทุนโลกต่อไป
3) Turbocharged Transformations
ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ และความเท่าเทียม ยิ่งรุนแรงขึ้นจากสถานการณ์โควิด
เศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวในรูปแบบ K Shape
คือ คนรวย จะฟื้นตัวเร็ว และยิ่งรวยขึ้น
ในขณะที่คนจน นอกจากจะจนลงแล้ว ยังฟื้นตัวช้ากว่า
ซึ่งแต่ละประเทศต้องรีบเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนจริงๆ
เช่น ปรับปรุงกฎหมายการจัดเก็บภาษีที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ในขณะเดียวกันโควิด ก็เร่งทำให้พฤติกรรมของผู้คนเข้าหาโลกออนไลน์กันมากขึ้น
เห็นได้จากการเติบโตของธุรกิจวิดีโอสตรีมมิง และชอปปิ้งออนไลน์ เป็นต้น
แต่ธุรกิจรูปแบบเดิมๆ เช่น ร้านค้าปลีก และศูนย์การค้า ที่มีหน้าร้านจริง กลับยิ่งซบเซา
ทั้งนี้ ต่อไปเทรนด์ของการลงทุน จะไหลเข้าธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของความยั่งยืน หรือ ESG เพิ่มขึ้น อาทิ ธุรกิจที่ช่วยลดการปล่อยของเสีย และคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ธุรกิจที่เกี่ยวกับพลังงานสะอาด เป็นต้น
-Thailand Economic Outlook 2021
ในปี 2020 ที่ผ่านมา แบงก์ชาติประเมินว่า GDP ของประเทศไทย จะหดตัว -6.6% ซึ่งใกล้เคียงตอนวิกฤติต้มยำกุ้ง
โดยได้รับปัจจัยลบมาจาก ภาคการท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ หายไปจาก 40 ล้านคน ในปี 2019 เหลือเพียง 6.7 ล้านคน ในปี 2020
การส่งออก ที่สะดุดลง เพราะซัพพลายเชนโลกหยุดชะงัก
การบริโภค และลงทุนภาคเอกชน ที่หดตัวในช่วงการล็อกดาวน์
แต่ประเทศไทยได้รับปัจจัยบวกจาก
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งนโยบายการคลังและการเงิน ที่เข้ามาช่วยพยุงเศรษฐกิจเอาไว้ไม่ให้บาดแผลลึกเกินไป
ส่วนในปี 2021 นี้ แบงค์ชาติประเมินว่า GDP ไทยจะโต 3.2%
ในขณะที่กรุงศรี คาดว่าจะเติบโต 2.5% หลังหักผลกระทบจากการระบาดของโควิดระลอกใหม่
ซึ่งที่เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะ ไม่เลวร้ายเหมือนปีก่อน และมีการขยายตัว เป็นเพราะ
ไทยไม่ได้มีการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ มีเฉพาะมาตรการควบคุมเฉพาะพื้นที่
และภาครัฐ มีการออกมาตรการควบคุมและช่วยเหลือต่างๆ ได้ตรงจุด อย่างรวดเร็ว กว่าที่ผ่านมา
เพราะมีข้อมูล และประสบการณ์ในการรับมือกับการแพร่ระบาดในระลอกแรก
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ จึงไม่เป็นวงกว้างเหมือนในปีก่อน
นอกจากนี้ การส่งออกไทย ซึ่งมีมูลค่าคิดเป็น 45% ของ GDP (ของปี 2019)
ยังมีแนวโน้มขยายตัว จากอานิสงส์เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
และสินค้าส่งออก ที่คิดเป็นสัดส่วนมากสุดของไทย คือ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์
ยังเป็นที่ต้องการอย่างมาก ของผู้บริโภคในตลาดโลก
โดยผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อในต่างประเทศ ต้องการรถยนต์ส่วนตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้รถสาธารณะ
รวมถึงผู้บริโภคในหลายประเทศ ที่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อทำงานที่บ้าน
ดังนั้น การส่งออก จะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้
ซึ่งในระยะยาว สำหรับผู้ประกอบการไทยแล้ว
ตลาดเอเชีย อาจมีความน่าสนใจกว่า ตลาดในแถบตะวันตก
ถึงแม้รายได้เฉลี่ยต่อหัวจะต่ำกว่า แต่ชาวเอเชีย มีอัตราการเติบโตของรายได้สูงกว่า ชาวตะวันตก
ทำให้มีอัตราการบริโภคที่เติบโตเร็วกว่า ซึ่งเป็นอีกโอกาสของผู้ประกอบการไทย
ส่วนความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ในปีนี้ ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
คือ เรื่องของการกลายพันธุ์ของเชื้อ และความยืดเยื้อของการแพร่ระบาด
รวมถึงการแจกจ่ายวัคซีน จะทั่วถึงครบทุกคนเมื่อไร
เพราะสิ่งเหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อนโยบายด้านการท่องเที่ยวและเปิดประเทศโดยตรง ว่าจะกลับมาเร็วแค่ไหน ซึ่งการท่องเที่ยว ก็เป็นอีกแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ
โดย รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ คิดเป็น 12% ของ GDP (ของปี 2019)
ทั้งนี้ ในภาพรวมเศรษฐกิจไทย ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังฟื้นตัว
แต่การฟื้นในแต่ละอุตสาหกรรม จะไม่เท่ากัน
อย่างภาคการผลิต ก็เห็นตัวเลขสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน
ในขณะที่ภาคบริการ โดยเฉพาะ ธุรกิจโรงแรม สายการบิน ร้านอาหาร ยังไม่ฟื้นตัว และเจอความท้าทายอยู่
ที่สำคัญธุรกิจเหล่านี้ เป็นธุรกิจที่มีการจ้างงานค่อนข้างเยอะ
ซึ่งแรงงานจำนวนมากนี้ ก็อาจถูก Layoff และขาดรายได้
จนส่งผลกระทบต่อ การบริโภคภายในประเทศ ในที่สุด
ดังนั้น คาดว่า การบริโภคในปีนี้ จะยังอยู่ในระดับต่ำกว่า ช่วงก่อนโควิด
และภาพรวมเศรษฐกิจไทย จะฟื้นคืนสู่จุดเดิมได้ ในปีหน้า
ปิดท้าย ทางธนาคารกรุงศรีอยุธยา และ แบงก์ชาติ ได้ย้ำว่า
ประเทศไทย และ ภาคธุรกิจ ต้อง Transform ตัวเองครั้งใหญ่ ณ ตอนนี้
เพราะหลังจากเหตุการณ์โควิด กิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะเปลี่ยนไปตลอดกาลถึงระดับโครงสร้าง
ไม่ว่าจะเป็น การนำระบบ Automation หรือ AI มาใช้งานกันมากขึ้น
รถยนต์ไฟฟ้า EV ที่เริ่มจะมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย
การค้าออนไลน์ และกิจกรรมบนโลกดิจิทัล ที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น
ประเทศไทย และ ภาคธุรกิจ ต้องให้ความสำคัญกับ นวัตกรรม และการรีสกิลของแรงงาน
เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และก้าวไปด้วยกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง..
real gdp คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
เศรษฐกิจไทย ในยุคแห่งความปกติใหม่ มีโอกาสอะไร ที่ซ่อนอยู่?
Krungthai X ลงทุนแมน
เศรษฐกิจประเทศไทยในตอนนี้
มีทั้ง ความโชคดี และ ความโชคร้าย
ความโชคดี คือ เราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ
ส่วนความโชคร้าย คือ เศรษฐกิจในภาคการท่องเที่ยวของไทย กำลังเจ็บหนัก..
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เริ่มมีการเลิกจ้างพนักงาน
หลายบริษัทกระทบหนัก จนถึงขั้นต้องยุติกิจการ
ซึ่งนอกจากภาคธุรกิจจริง หรือ Real Sector แล้ว
ในภาคการลงทุน ก็เกิดความผันผวน ที่คาดการณ์ได้ยากอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเช่นกัน
เรื่องนี้ทำให้เกิด งานสัมมนา Krungthai Precious Plus presents Wealth Forum Chapter 2 “NEXT is Now จับกระแสกลยุทธ์ สู่ความมั่งคั่งวิถีใหม่”
งานสัมมนาของธนาคารกรุงไทย ที่รวบรวมผู้บริหารระดับสูงของหลายองค์กร ได้แก่
- คุณลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต
- ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
- ดร.สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ และผู้บริหารกลุ่มบริษัท Sea Limited
- คุณนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอคเซนเชอร์ ประเทศไทย
- ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย
มาร่วมกันหารือถึงแนวคิดสู่ความมั่งคั่ง ในสภาวะที่เศรษฐกิจไทยกำลังเต็มไปด้วยความท้าทาย
งานนี้ ให้แง่คิดดีๆ อะไรกับเราบ้าง?
ลงทุนแมน จะสรุปให้ฟัง
เราคงเคยได้ยินคนพูดว่า ถ้ามีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส
เศรษฐกิจโลกจะกลับมาฟื้นตัว และกลับสู่การเติบโตได้อีกครั้ง
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ความหวังนั้นมันอาจจะไม่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ เพราะแม้จะมีการคิดค้นวัคซีนสำเร็จแล้ว แต่ก็อาจต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี กว่าที่ทุกคนทั่วโลกจะได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง
คำถามคือ จะทำอย่างไร ให้ธุรกิจอยู่รอดไปถึงวันนั้น วันที่โลกใบนี้ จะถูกปลดล็อกด้วยวัคซีนที่ทุกคนรอคอย
สำหรับประเทศไทย ผู้ประกอบการกลุ่มหนึ่งที่เราจะต้องโฟกัสเป็นกลุ่มแรกๆ คือ ภาคการท่องเที่ยว
รู้หรือไม่ว่า ปีที่แล้ว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาประเทศไทยทั้งหมด 40 ล้านคน
และนักท่องเที่ยวจำนวนนี้ จ่ายเงินให้กับผู้ประกอบการในภาคการท่องเที่ยวของไทยมากถึง 1.9 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 12% ของ GDP ประเทศไทย
ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของเรื่องนี้ คือการ “เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ”
แต่ถ้าจะทำเช่นนั้น ก็ต้องมีมาตรการคัดกรองอย่างเข้มข้นเพื่อปิดความเสี่ยงเรื่องการระบาดรอบสองด้วยเช่นกัน
นอกจากนั้นแล้ว เราอาจจะยังต้องโฟกัสไปที่กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีรายได้สูงเป็นกลุ่มหลัก
เพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เพียงหนึ่งคน มีความสามารถใช้จ่ายมากกว่านักท่องเที่ยวโดยทั่วๆ ไป ถึง 4 - 5 คนรวมกัน
หากการเปิดประเทศนี้เกิดขึ้นได้จริงในเร็วๆ นี้
ก็จะทำให้ผู้ประกอบการในภาคการท่องเที่ยวค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมาได้
ทั้งโรงแรม, สายการบิน, ร้านอาหาร, ธุรกิจรถเช่าตามสถานที่ท่องเที่ยว และอีกมากมายหลายธุรกิจที่ยังไม่ได้กล่าวถึง
ซึ่งถ้าธุรกิจเหล่านี้เริ่มฟื้นตัวกลับมาได้ สิ่งที่ตามมาก็คือ การจ้างแรงงานในธุรกิจเหล่านี้ก็จะกลับมาเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เราก็ได้เห็นกันแล้วว่า หลังจากที่รัฐบาลเริ่มคลายมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน เศรษฐกิจไทยก็เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวที่ดีขึ้นเรื่อยมา
ยกตัวอย่างเช่น
อัตราการบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ เริ่มดีขึ้น
ยอดขายรถยนต์ และอสังหาริมทรัพย์ ค่อยๆ ฟื้นตัวดีมากขึ้น
แต่ทุกอย่างที่กำลังดีขึ้นนี้
ก็ไม่ได้แปลว่า ทุกอย่างจะกลับมาปกติได้ในเร็วๆ นี้
เพราะอย่าลืมว่า หลายประเทศทั่วโลกยังคงเจ็บหนัก และยังคงไม่สามารถฟื้นตัวได้ในเร็วๆ นี้
สิ่งที่ทำได้ในตอนนี้ คือ “บริหารกระแสเงินสด” ให้ดี
พยายามลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจให้น้อยลงให้สอดคล้องกับรายได้
แต่อย่างไรก็ตาม หลายธุรกิจยังคงต้องพึ่งพาสถาบันการเงิน
ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือ วันนี้มีกว่า 10 ล้านบัญชีในระบบธนาคาร ที่ยื่นเรื่องขอผ่อนปรนหนี้สินที่ค้างชำระ
พอเป็นแบบนี้ ธนาคารเอง ก็เกิดความกังวลใจในการปล่อยสินเชื่อ
ผลร้ายจึงมาตกอยู่ที่ผู้ประกอบการรายเล็ก และธุรกิจ SMEs ที่อาจเสียโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อนำมาพลิกฟื้นธุรกิจตัวเอง
ซึ่งเราคงต้องติดตามดูกันต่อไปว่า ภาครัฐและสถาบันการเงินจะมีมาตรการอะไร มาแก้ปัญหาในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม เราจะโฟกัสเพียงแค่เศรษฐกิจอย่างเดียวไม่ได้ เพราะหากเราเปิดประเทศเพื่อฟื้นภาคการท่องเที่ยว แล้วต้องแลกมาด้วยการเกิดการระบาดรอบสองของเชื้อไวรัส
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องยากกว่าเดิมหลายสิบเท่า
เพราะเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้ถูกใช้ไปกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการระบาดในรอบแรกไปจำนวนมากแล้ว
อย่างไรก็ตาม ทุกวิกฤติที่เกิดขึ้น ก็มักจะมี “โอกาส” ที่ซ่อนอยู่เสมอ
เรื่องนี้ก็เลยทำให้ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS
ได้นำเสนอแนวคิดในการลงทุนในช่วงนี้ ด้วยคอนเซ็ปต์ “NEXT”
ซึ่ง NEXT ก็คือ
N = New Normal พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป เราชอปปิงออนไลน์, สั่งอาหารผ่านบริการดิลิเวอรี, เราใส่หนักกากทุกครั้งที่ออกจากบ้าน จนเป็นเรื่องปกติใหม่ไปแล้วในชีวิตประจำวัน
ซึ่งนั่นหมายความว่า ถ้ามองให้ดี เราอาจจะเจอโอกาสใหม่ๆ ที่จะลงทุนในธุรกิจที่กำลังไปในทิศทางเดียวกับความปกติใหม่เหล่านี้
E = Equity เราอยู่ในภาวะดอกเบี้ยเข้าใกล้ 0% ซึ่งทำให้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยต่ำลงมาก ดังนั้น การลงทุนระยะยาวในหุ้นที่เรามีความเข้าใจ คือคำตอบสำคัญ ที่จะสามารถสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าการลงทุนประเภทอื่นๆ
X = External พยายามลงทุนไปยังต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี, ธุรกิจ Social Media และ E-commerce ที่กำลังเติบโตทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดหุ้นในจีนที่เป็นอีกตลาดที่น่าจับตามอง
T = Technology เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มใหม่ๆ คือเทรนด์แห่งอนาคต ที่ได้แจ้งเกิดอย่างเต็มตัวในช่วงโควิด 19 ระบาด
ทั้งหมดนี้ คือสิ่งที่ ลงทุนแมน ได้จากการเข้าร่วมสัมมนา” Krungthai Precious Plus presents Wealth Forum Chapter 2”
ซึ่งต้องบอกว่า เป็นงานที่ให้แง่คิดทั้งในด้านเศรษฐกิจและการลงทุนได้อย่างน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
ข้อคิดที่ได้จากงานนี้ คงสรุปได้อย่างสั้นๆ ว่า
ทุกวิกฤติย่อมสร้างผลกระทบให้เศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตของหลายคน
แต่หากเรามองให้ดีๆ ก็อาจจะพบว่า
ในวิกฤติที่เกิดขึ้นนั้น อาจมี “โอกาส” ที่เราจะสามารถคว้าเอาไว้ได้ เช่นกัน..
real gdp คือ 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
real gdp คือ 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
real gdp คือ 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
real gdp คือ 在 ฟังข่าวเศรษฐกิจทีไร ได้ยินมันทุกที มันคืออะไร ? มาทำความเข้าใจ ... 的推薦與評價
- Real GDP เป็น GDP ที่ต้องการวัดให้เห็นถึงปริมาณผลผลิตมวลรวมที่แท้จริง ที่สะท้อนประสิทธิภาพที่แท้จริงของการผลิต จึงต้องตัดผลกระทบจากอัตรา ... ... <看更多>
real gdp คือ 在 7.4 EC210 (Online class) Real vs Nominal GDP ... - YouTube 的推薦與評價
... Nominal and Real GDP การคำนวณ GDP deflator ข้อจำกัดของ GDP ... 7.2 EC210 (Online class) GDP คือ อะไร? Kriengkrai Techakanont•3.5K ... ... <看更多>